|
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่เกิดขึ้น ตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่หน่วยการปกครองขั้นพื้นฐาน ของรัฐบาล โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ 2537 (ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 และมีผลใช้บังคับเมื่อ |
|
|
วันที่ 2 มีนาคม 2538) กำหนดให้สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้มีการกำหนดชั้นองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่ ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท. 0318/ว 460 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2542 โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลในเมืองขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 4
เทศบาลตำบลในเมือง ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ให้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลในเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลในเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ติดกับอำเภอสวรรคโลก มีเนื้อที่ประมาณ 37,513 ไร่ คิดเป็นพื้นที่จำนวน 60.03 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
รูปตราเครื่องหมาย เป็นบุษบกจตุรมุขมีพู่ห้อยกลางอยู่ภายในวงรอบด้วยลายกนก
ประวัติ/ที่มา คือ เป็นตราประจำตำแหน่งเจ้าเมืองสวรรคโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2428 ซึ่งปัจจุบันได้เลิกใช้มานานกว่า 100 ปีแล้วโดยมีหนังสือราชการ ที่ลงลายมือชื่อเจ้าเมืองสวรรคโลก พร้อมประทับตรา ประจำตำแหน่งซึ่งได้เก็บรักษาไว้ที่ตำบลในเมือง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ทต.ป่ากุมเกาะ |
อ.สวรรคโลก |
จ.สุโขทัย |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ทม.สวรรคโลก อบต.ปากน้ำ อบต.ย่านยาว |
อ.สวรรคโลก |
จ.สุโขทัย |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ทต.คลองยาง
อบต.หนองบัว |
อ.สวรรคโลก
อ.ศรีนคร |
จ.สุโขทัย
จ.สุโขทัย |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
แม่น้ำยมและ ทม.สวรรคโลก |
อ.สวรรคโลก |
จ.สุโขทัย |
|
|
|
    |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สภาพพื้นที่ของเทศบาลตำบลในเมือง มีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่ม ทิศตะวันตกมีแม่น้ำยมไหลผ่าน โดยในช่วงฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลแรงกัดเซาะริมตลิ่งพังทลายลงทุกปี และในพื้นที่มีแม่น้ำยมสายเก่าตัดผ่านมีคลองเชื่อมติดอยู่หลายคลอง เหมาะแก่การเพาะปลูกทำการเกษตร
|
|
|
|
|
|
|
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจะเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพล ของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งร้อน และชื้นพัดจากมหาสมุทรอินเดียปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนตกทั่วไป เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนกันยายน |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ทำให้อากาศหนาวเย็นทั่วไป เดือนที่มีอากาศหนาวจัดคือ เดือนธันวาคม และเดือนมกราคม |
|
|
|
|
|
ประชาชนในพื้นที่ตำบลในเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำไร่อ้อย ปลูกถั่ว ปลูกผัก ปลูกมะม่วง พุทรา เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ และค้าขาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 8,053 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 3,920 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.68 |

 |
หญิง จำนวน 4,133 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.32 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,231 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 133.15 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านหางคลอง |
728 |
806 |
1,534 |
727 |
|
 |
2 |
|
บ้านในเมือง |
199 |
224 |
423 |
202 |
 |
|
3 |
|
บ้านคลองหอม |
380 |
409 |
789 |
284 |
|
 |
4 |
|
บ้านสนามบิน(เก่า) |
193 |
215 |
408 |
230 |
 |
|
5 |
|
บ้านเนินจันทร์ |
209 |
225 |
434 |
146 |
|
 |
6 |
|
บ้านเจ็ดธรรมาสน์ |
188 |
192 |
380 |
147 |
 |
|
7 |
|
บ้านคลองแค |
255 |
261 |
516 |
191 |
|
 |
8 |
|
บ้านหนองเรียง (เหนือ) |
401 |
420 |
821 |
313 |
 |
|
9 |
|
บ้านป่ามะม่วง |
461 |
465 |
926 |
345 |
|
 |
10 |
|
บ้านบ่อแปดร้อย |
221 |
194 |
415 |
152 |
 |
|
11 |
|
บ้านแม่น้ำเก่า |
211 |
239 |
450 |
163 |
|
 |
12 |
|
บ้านหนองเรียง (ใต้) |
285 |
277 |
562 |
193 |
 |
|
13 |
|
บ้านมิตรภาพ |
189 |
206 |
395 |
138 |
|
 |
|
|
รวม |
3,920 |
4,133 |
8,053 |
3,231 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
|
 |
|
 |
|
|
เริ่มนับ วันที่ 22 พ.ค. 2560 |
|
|
|